วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ประทัดกระดาษ (Paper Clap)


ประทัดกระดาษ (Paper Clap)

ประทัดกระดาษเป็นสิ่งประดิษฐ์เล็กๆ แต่เสียงดัง  พอจะให้ความบันเทิงเด็กๆ ได้บ้าง  อาจใช้ประกอบการเล่นยิงปืน (ไม่รู้ว่าสมัยนี้ยังเล่นกันอยู่หรือเปล่า?) แต่มีความปลอดภัยกว่ามาก เพราะไม่เกี่ยวข้องกับดินปืนและไฟแต่อย่างใด

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องการ :
1. กระดาษแข็ง
2. กรรไกร
3. หนังยาง


ขั้นตอนการประดิษฐ์ :
1.  ตัดกระดาษแข็ง ออกเป็นชิ้นเล็กๆ 2 ชิ้น ขนาด 6 x 6 เซนติเมตร ตัดตรงกลาง 2 ด้านที่อยู่ตรงข้ามกัน ให้เป็นรอยบากรูปตัววี  ให้รอยบากลึกพอควร ไม่เช่นนั้นหนังยางจะหลุดได้ เมื่อเวลาพับเล่น
2.  วางกระดาษแข็งทั้ง 2 แผ่น ซ้อนกัน แล้วใช้หนังยางรัดตรงรอยบาก

วิธีเล่น :
1.             ใช้มือเปิดกระดาษแข็งออกจากกัน พับไปด้านหลังจนกระดาษติดกัน
2.             ใช้มือจับไว้ให้แน่น เมื่อโยนขึ้นไปบนอากาศ กระดาษจะพลิกกลับมาตีกันเกิดเสียง

เกิดอะไรขึ้น ? : เมื่อถูกดึงให้ยืดออก หนังยางจะสะสมพลังงานไว้ในตัว เมื่อปล่อยมือ หนังยางจะปลดปล่อยพลังงานกลับคืน เร่งความเร็วให้กับกระดาษ ให้กลับมากระทบกัน การสั่นสะเทือนของกระดาษอย่างรวดเร็วทำให้เกิดเสียงขึ้น

ติดตามรายละเอียดโครงการวิทยาศาสตร์สนุกอื่นๆ ได้ที่

กระบองหวีดหวิว (Sound Stick)

กระบองหวีดหวิว (Sound Stick)

ครั้งสุดท้ายที่ผมมีโอกาสไปเยือนอินเดีย บังเอิญเดินผ่านไปเจอกระบองไม้ไผ่ลวดลายสวยงามแปลกตา พอลองควงเล่นดู ปรากฏว่ามีเสียงวิ๊วๆ ดังออกมาจากกระบองไม้  จึงซื้อมาเป็นตัวอย่างไว้ดูเล่นก่อน  ช่วงนี้มีเวลา เลยนำมาดูว่ามันทำให้เกิดเสียงได้อย่างไร?  ปรากฏว่าเป็นไอเดียการประดิษฐ์ที่ง่ายมากๆ เลยครับ

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องการ :
1. แหวนอีแปะ 12 มม. 3 ตัว
2. ท่อพีวีซีสีฟ้า ขนาด 18 มม. (1/2”) ยาว 1 เมตร (หรือยาวตามต้องการ)
3. เทปกาวโฟม และ เทปกาว


ขั้นตอนการประดิษฐ์ :
1.  ตัดเทปกาวโฟมให้เป็นเส้นเล็กๆ นำมาติดบนแหวนอีแปะใกล้กับขอบเหรียญ
2.  นำแหวนอีแปะอีกอันมาติดซ้อนลงไป
3.  ทำซ้ำข้อ 1. และ 2. จะได้แหวนอีแปะซ้อนกัน 3 ชั้น
4.  นำแหวนอีแปะ 3 ชั้น วางบนปลายของท่อพีวีซี แล้วใช้เทปกาวยึดกับปลายท่อให้แน่น ระวังอย่าให้เทปกาวปิดรูของแหวน

วิธีเล่น : เหวี่ยงหรือหมุนกระบองไปรอบๆ จะเกิดเสียงวิ๊วๆ ขึ้น เมื่อเหวี่ยงกระบองเร็วขึ้น เสียงจะสูงขึ้นด้วย

เกิดอะไรขึ้น ? : เมื่อเราเหวี่ยงกระบอง อากาศจะไหลผ่านจากปลายที่ใกล้มือจับ ผ่านตามความยาวของกระบอง ออกไปยังปลายอีกด้านหนึ่ง และจะถูกรีดผ่านขอบด้านในของแหวน ทำให้เกิดเสียงขึ้น

ติดตามรายละเอียดโครงการวิทยาศาสตร์สนุกอื่นๆ ได้ที่



วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Sci4Fun - วิทยาศาสตร์สนุก

= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =
บทความของ Sci4fun.com
= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =


- + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - +
การสังเกตการณ์
- + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - +

ท้องฟ้า, เมฆ และ เมฆสีรุ้ง (Sky, Clouds and Rainbow Clouds)
http://sci4fun.com/cloud/cloud.html

การสังเกตปรากฏการณ์ท้องฟ้า (Sky Observation)
http://sci4fun.com/skyobserve/skyobserver.html

รุ้ง (Rainbow)
http://sci4fun.com/skyobserve/rainbow.html

การเปล่งแสง (Luminescence)
http://sci4fun.com/luminescence/luminescence.html

ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง (Lightning and Thunder)
http://sci4fun.com/lightning/lightning.html


- + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - +
การบันทึกเหตุการณ์
- + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - +

การถ่ายภาพพริบตา (High-Speed Photograpy : Low Budget)
http://sci4fun.com/highspeed/highspeed.html

วีดีโอความเร็วสูง (High-Speed Video)
http://sci4fun.com/highspeed/f1.html

การถ่ายภาพอินฟราเรดใกล้ด้วยกล้องดิจิตอล (Near Infrared Photography)
http://sci4fun.com/nearir/nearir.html

การถ่ายภาพ 3 มิติ ด้วยกล้องดิจิตอล (3D Photography)
http://sci4fun.com/stereo/stereo.html

การถ่ายภาพทางอากาศจากว่าว (KAP - Kite Aerial Photography)
http://sci4fun.com/kap/kap.html

การบันทึกภาพต่อเนื่อง (Time-lapse Photography)
http://sci4fun.com/time_lapse/time_lapse.html

Panorama และ QuickTime VR ในประเทศไทย
http://sci4fun.com/QTVR/pano.htm

การถ่ายภาพโลกขนาดเล็ก (Micro Photography)
http://sci4fun.com/microphotography/micro.html

- + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - +
การประดิษฐ์ (Inventions)
- + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - +

จรวดขวด PET (PET-Bottled Rockets)
http://sci4fun.com/thaiwaterrocket/waterrocket.html

ปืนใหญ่วอร์เทกซ์วงแหวน (Ring Vortex Cannon)
http://sci4fun.com/ringvortex/ringvortex.html

เครื่องจำลองพายุทอร์นาโด (Tornado Machine)
http://sci4fun.com/tornado/tornado.html

สเปคโตรสโคปอย่างง่าย (Siple Spctroscrope)
http://sci4fun.com/spectroscope/spectroscope.html

ปืนกล่องฟิล์ม (Film Can Gun)
http://sci4fun.com/filmcangun/gun.html

กังหันไฟฟ้าสถิตย์ (Electrostatic Fan)
http://sci4fun.com/electrostaticfan/fan.html

จรวดกล่องฟิล์ม (Film Can Rocket)
http://sci4fun.com/filmcanrocket/rocket.html

ว่าวกับการสำรวจระยะไกล
http://sci4fun.com/kite/kite.html

ว่าวแสนง่ายสำหรับเด็ก (Easiest Classroom Kite)
http://sci4fun.com/kite/easykite/easykite.html

เตตระฮีดรอน (Tetrahedron)
http://sci4fun.com/tetrahedron/tetrahedron.html

ว่าวไอพ่นจากถุงพลาสติก (Sled Kite from Plastic Bag)
http://sci4fun.com/kite/plasticsled/plasticsled.html

ลวดลายของแคลดนี (Chladni's Patterns)
http://sci4fun.com/chladni/

เลื่อยดนตรี (Musical Saw)
http://sci4fun.com/musicalsaw/musicalsaw.html

ขวดผิวปาก (Plastorgan)
http://sci4fun.com/plastorgan/plastorgan.html

ภาพวาดบอกสภาพอากาศ (Weather Indicator Painting)
http://sci4fun.com/painting/painting.html

แตรคชสาร (Elephant Horn)
http://sci4fun.com/elephanthorn/horn.html

กระจกภาพอนันต์ (Infinity Mirror)
http://sci4fun.com/infinity_mirror/infinity_mirror.html

ไหมพรมเต้นระบำ (Dancing Wool)
http://sci4fun.com/dancing_wool/dancing_wool.html

โซมาคิวป์ (Soma Cube)
http://sci4fun.com/soma_cube/soma_cube.html

ถ้วยกระโดดได้ (Jumping Cup)
http://sci4fun.com/jumping_cup/jumping_cup.html

ปืนยิงดินน้ำมัน (Dough Launcher)
http://sci4fun.com/dough_launcher/dough_launcher.html

ปืนยิงลูกบอล (Ball Launcher)
http://sci4fun.com/ball_launcher/ball_launcher.html

กบกระโดด (Jumping Frog)
http://www.facebook.com/album.php?aid=186257&id=656858580&l=9877546a61

แว่นตาดูดวงอาทิตย์ (Solar Viewer)
http://sci4fun.blogspot.com/2010/10/solar-viewer.html


- + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - +
เรื่องน่ารู้ (Things to Know)
- + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - +

การสำรวจอวกาศ (Space Exploration)
http://sci4fun.com/spaceexploration/timeline.html

การประดิษฐ์อุปกรณ์วิทยาศาสตร์, ของใช้ , ของประดับ และของเล่น จาก ถุง/กล่อง/ขวดพลาสติกใช้แล้ว (Bag / Container / Plastic Bottle Re-Use Ideas)
http://sci4fun.com/plasticbottle/plasticbottle.html

Fresnal Lens
http://sci4fun.com/fresnal_lens/fresnal_lens.html

การคูณโดยใช้เส้นตรง (Line Multiplication)
http://sci4fun.com/linemultiply/linemultiply.html

การทดสอบน้ำ (Water Test)
http://sci4fun.com/watertest/watertest.html

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Time-lapse Videos

การถ่ายภาพ time-lapse
http://sci4fun.com/time_lapse/time_lapse.html

พจนานุกรม Longdo ดู ให้คำจำกัดความเป็นภาษาไทยของคำว่า "Time-lapse" ว่า "ซึ่งถ่ายภาพช้าๆ" และ "ซึ่งเกี่ยวกับเทคนิคการถ่ายภาพอย่างช้าๆ" 

Time-lapse เป็นเทคนิคการทำภาพยนต์ ที่มีการบันทึกภาพแต่ละเฟรมในความเร็วที่น้อยกว่าการเล่นภาพยนต์มาก เมื่อเล่นภาพยนต์ ภาพที่เห็นจึงปรากฎด้วยความเร็วสูงขึ้นมาก คล้ายกับการย่นย่อเวลาให้เร็วขึ้นนั่นเอง 

Time-lapse Photography นับเป็นเทคนิคที่ตรงกันข้ามกับ High Speed Photography (อ่านรายละเอียดได้ที่ การถ่ายวีดีโอความเร็วสูง) ทำให้เราสามารถศึกษารายละเอียดของกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ เกินกว่าที่ตาคนเราจะสังเกตเห็นได้ ได้แก่ การเคลื่อนไหวของพืช (การบาน/หุบของดอกไม้, การเลื้อยพันของไม้เถา, การงอกของเมล็ด), การเคลื่อนที่ของดาว, การเคลื่อนที่ของเมฆ, การเน่าของผลไม้, การก่อสร้าง, ฝูงชน เป็นต้น 

Time-lapse นับเป็นเทคนิคที่นับเป็นที่สุดของเทคนิคที่เรียกว่า undercranking และมักถูกสับสนกับเทคนิค stop motion
 
ความเร็วของการบันทึกวีดีโอธรรมดา อยู่ประมาณ 24-30 เฟรม/วินาที (60 เฟรม/วินาที สำหรับ HD บางประเภท) ดังนั้นความเร็วของ time-lapse photography จึงเป็นได้ตั้งแต่ 30 เฟรม/วินาที, 1 เฟรม/วินาที, 1 เฟรม/นาที, 1 เฟรม/ชั่วโมง, 1 เฟรม/วัน, 1 เฟรม/สัปดาห์ จนถึงนานเท่าไรก็ได้ที่จำเป็น
คำว่า time-lapse ยังหมายถึงการเปิด shutter ของกล้อง สำหรับการบันทึกแต่ละเฟรม ของฟิล์ม(หรือวีดีโอ) ด้วย เราอาจใช้ time-lapse ทั้ง 2 ประเภท ร่วมกันได้ เช่น การบันทึกภาพดาว ที่แต่ละเฟรมใช้เวลาการเปิดหน้ากล้อง 30 วินาที และมีความถี่ในการบันทึกภาพ 1 เฟรม/นาที เป็นต้น 














- + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - +

Link ด้านล่าง มีอยู่ 2 link ครับ :

Use the first link, if you are not a FaceBook member.
Use the second link, if you are a FaceBook member.

- + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - +

Sky Observation

Sunrise @ Ayuthaya - 11 September 2009
http://www.facebook.com/v/431288208580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=431288208580

Sunrise @ Ayuthaya - 11 September 2009
http://www.facebook.com/v/431292793580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=431292793580

Clouds - 20 June 2010
http://www.facebook.com/v/402045358580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=402045358580

Solar Halo & Sun Dog - 22 June 2010 [HQ]
http://www.facebook.com/v/402814393580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=402814393580

Iridescent Clouds - 25 June 2010
http://www.facebook.com/v/403842588580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=403842588580

Partial Solar Halo - 27 June 2010 [HQ]
http://www.facebook.com/v/404156878580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=404156878580

Partial Solar Halo - 5 July 2010 [HQ]
http://www.facebook.com/v/406636753580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=406636753580

22° and 9° Solar Halo - 6 July 2010 [HQ]
http://www.facebook.com/v/407040313580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=407040313580

Clouds - 7 July 2010 [HQ]
http://www.facebook.com/v/407425908580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=407425908580

Solar Halo - 15 July 2010 [HQ]
http://www.facebook.com/v/410009418580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=410009418580

22° and 9° Solar Halo + Sun Dog - 20 July 2010
http://www.facebook.com/v/411545113580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=411545113580

Solar Halo - 22 July 2010 [HQ]
http://www.facebook.com/v/412641493580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=412641493580

Solar Halo - 23 July 2010 [HQ]
http://www.facebook.com/v/412794268580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=412794268580

รุ้งซ้อน (Supernumerary Rainbow) - 7 August 2010 [HQ]
http://www.facebook.com/v/418838308580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=418838308580

Circumscribed Halo + 9° Solar Halo + Solar Corona + Solar Aureole - 23 August 2010
http://www.facebook.com/v/422719093580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=422719093580

Solar Halo & Sun Dog - 27 August 2010 [HQ]
http://www.facebook.com/v/424769063580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=424769063580

Rainbow - 31 August 2010 [HQ]
http://www.facebook.com/v/425432613580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=425432613580

Solar Halo and Upper Tangent Arc - 1 September 2010 [HQ]
http://www.facebook.com/v/426257618580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=426257618580

Circumscribed Halo & Parhelic Circle - 3Sep10 [HQ]
http://www.facebook.com/v/426621668580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=426621668580

Morning Clouds - 5 Sept 2010 [HQ]
http://www.facebook.com/v/427878148580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=427878148580

Solar Aureole - 20 September 2010 [HQ]
http://www.facebook.com/v/432716648580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=432716648580

Evening Sky - 21 September 2010 [HQ]
http://www.facebook.com/v/433161698580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=433161698580

Solar Corona - 22 September 2010 [HQ]
http://www.facebook.com/v/433457138580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=433457138580

Lunar Aureole - 23-24 September 2010
http://www.facebook.com/v/434107683580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=434107683580

Lunar Halo - 25 September 2010 [HQ]
http://www.facebook.com/v/435331378580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=435331378580



- + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - +

Flower Blooming

โบตั๋น [HQ]
http://www.facebook.com/v/411797813580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=411797813580

โบตั๋น (2) [HQ]
http://www.facebook.com/v/411864708580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=411864708580

บัวสวรรค์ [HQ]
http://www.facebook.com/v/411906433580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=411906433580

ดอกพุด [HQ]
http://www.facebook.com/v/412261008580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=412261008580

บัวหลวง [HQ]
http://www.facebook.com/v/413456608580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=413456608580

บัวหลวง 2 [HQ]
http://www.facebook.com/v/414475658580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=414475658580

โบตั๋น (3) [HQ]
http://www.facebook.com/v/414677023580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=414677023580

พญาจงอาง [HQ]
http://www.facebook.com/v/415650243580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=415650243580

- + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - + - +

โคโรนา (Corona)

โคโรนา คือวงแหวนสีต่างๆ (ชั้นเดียว หรือ หลายชั้น) รอบดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์ เกิดขึ้นเมื่อแสงส่องผ่านเมฆบาง 

โคโรนาจะพบได้ยากกว่า และบันทึกภาพได้ยากกว่า เนื่องจากวงของโคโรนาจะอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากนั่นเอง 

โคโรนามีขนาดเชิงมุม (Angular Size) 10-30 องศา มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ (Solar หรือ Lunar Point) 

โคโรนารอบดวงอาทิตย์สะท้อนผิวน้ำ : 28กย53 7:49 น.
โคโรนารอบดวงอาทิตย์ : 28กย53 7:49 น.
Solar Corona : 22กย53, 7:15 น.

Links :

ปรากฏการณ์ท้องฟ้า
http://sci4fun.com/skyobserve/skyobserver.html

Time-lapse Video
Solar Corona - 22 September 2010 [HQ]
http://www.facebook.com/v/433457138580
http://www.facebook.com/video/video.php?v=433457138580

Moon, Aureole, Corona - 26 August 2010
http://www.facebook.com/album.php?aid=200869&id=656858580&l=21f5faadd2


วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แว่นตาดูดวงอาทิตย์ (Solar Viewer)

ผมเป็นคนมีนิสัยชอบการสังเกตดวงอาทิตย์ รวมถึงปรากฏการณ์ทางแสงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับดวงอาทิตย์ เช่น การเกิดพระอาทิตย์ทรงกลด (Solar Halo), โคโรนา (Solar Corona), ออเรียล (Solar Aureole), ซันด๊อก (Sun Dog) หรือ พาร์ฮีเลีย (Parhelia), โค้งอัปเปอร์แทนเจ้นท์ (Upper Tangent Arc), ซับซัน (Subsun) และปรากฎการณ์อีกหลายอย่าง   สุริยุปราคาก็เป็นปรากฎการณ์อีกอย่างที่น่าตื่นตาตื่นใจ เนื่องจากมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร และหาชมได้ยากพอสมควร

แว่นตาดูสุริยุปราคา ที่มีจำหน่ายบน internet
การสังเกตุสุริยุปราคาแตกต่างจากการสังเกตุปรากฎการณ์ทางแสงอื่นๆ เนื่องจากแสงของดวงอาทิตย์มีความจ้ามาก การที่จะมองเห็นขอบของดวงอาทิตย์ขณะเกิดสุริยุปราคาได้ และปลอดภัยกับดวงตานั้น ต้องใช้แผ่นกรองแสงที่มีค่า Transmittance ไม่เกิน 0.0032%  แผ่นกรองแสงที่ผลิตในต่างประเทศสำหรับดูดวงอาทิตย์ มีราคาแพงและไม่สามารถหาได้ทั่วไปในเมืองไทย  จึงจำเป็นต้องหาวัสดุอื่นที่มีมาตรฐานใกล้เคียงกัน แต่ราคาย่อมเยา

แว่นตาดูสุริยุปราคา อีกแบบหนึ่ง

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ :

1.    ฟิล์มขาวดำ : ที่นำมาทดสอบ คือยี่ห้อ FOMAPAN และ LUCKY ครับ


ฟิล์มขาว-ดำ Fomapan และ Lucky จากร้านแถวปากทางลาดพร้าว

2.    แบบแว่นตา : จะใช้วาดขึ้นเอง หรือจะ download จาก web sci4fun.com ก็ได้ครับ

กรอบแว่นดูดวงอาทิตย์ แบบที่ 1
http://sci4fun.com/astronomy/full/solar_glasses_1.png

กรอบแว่นดูดวงอาทิตย์ แบบที่ 2
http://sci4fun.com/astronomy/full/solar_glasses_2.png


3.    อุปกรณ์อื่นๆ : คัตเตอร์ ดินสอ ไม้บรรทัด กรรไกร เทปกาว หรือ กาว


ขั้นตอนการเตรียมฟิล์มขาว-ดำ :

1.    ซื้อฟิล์มขาว-ดำมาสักม้วน ดึงหางฟิล์มให้โดนแสงประมาณ 1 นาที

ดึงหางฟิล์มออกมา ให้ฟิล์มโดนแดดจังๆ
ดึงหางฟิล์มให้ตากแดดแรงๆ สัก 1 นาที
2.    ส่งฟิล์มไปล้าง บอกทางร้านว่าไม่ต้องตัดฟิล์ม

ฟิล์มขาว-ดำ ที่ล้างแล้ว

ขั้นตอนการประดิษฐ์ :
1.    ออกแบบและวาดกรอบแว่นบนกระดาษแข็ง หรือจะ download แบบของกรอบแว่น แล้วนำมาติดบนกระดาษแข็ง
2.    ใช้กรรไกรหรือคัตเตอร์ตัดกรอบแว่นและขาแว่น แล้วใช้กาวติดขาแว่นเข้ากับตัวแว่น
3.    ตัดฟิล์มที่เตรียมไว้ ให้ขนาดใหญ่กว่าขนาดของรูกรอบแว่นเล็กน้อย
4.    ติดแผ่นฟิล์มเข้ากับกรอบแว่นโดยใช้กาวหรือเทปกาว
5.    พับแว่นให้ประกบกัน แล้วติดให้สนิทด้วยกาวหรือเทปกาว

แว่นตาดูสุริยุปราคา ที่ทำเสร็จแล้ว

วิธีใช้ :
มองผ่านแว่นเมื่อต้องการสังเกตุดวงอาทิตย์


คำแนะนำเพิ่มเติม :
1.    ก่อนใช้งานทุกครั้ง ให้สำรวจแว่นฯ ว่าชำรุด หรือมีรอยขีดข่วนบนฟิล์มหรือไม่? หากมีรอยขีดข่วนจะทำให้แสงอาทิตย์เล็ดลอดมาโดนดวงตาได้
2.    อย่าดูดวงอาทิตย์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ เพื่อความปลอดภัย ให้ดูเป็นระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 10 วินาที แล้วหยุดพัก
3.    เมื่อเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง เราสามารถดูพระอาทิตย์ได้ด้วยตาเปล่า ไม่จำเป็นต้องใช้แว่นตา
4.    คลื่นความร้อนและรังสีจากดวงอาทิตย์ อาจทำให้จอประสาทตาเสื่อมได้  จึงควรสังเกตุอาการผิดปกติของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เช่น ตาพร่ามัว เห็นภาพบิดเบี้ยว มองเห็นจุดดำอยู่กลางภาพ สู้แสงไม่ได้ ปวดศีรษะระหว่างคิ้วหรือหลังลูกตา


Links ที่น่าสนใจ :

Science for Fun (วิทยาศาสตร์สนุก)
http://sci4fun.com/

ปรากฎการณ์ท้องฟ้า
http://sci4fun.com/skyobserve/skyobserver.html

สุริยุปราคา
http://sci4fun.com/astronomy/solar_eclipse_22jul09/eclipse.html